ชวนรู้จัก ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 คืออะไร

ชวนรู้จัก ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 คืออะไร มีความสำคัญต่อชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไร

ชาวต่างชาติ และชาวต่างด้าวที่เข้ามาทำงานภายในราชอาณาจักรไทย นอกจากจะต้องมีวีซ่าทำงานประเภทต่าง ๆ (Non-B Visa) และมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือชาวต่างชาติบางกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงานก็ตาม ทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ด้วย เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานการเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด หากคนไทยและชาวต่างชาติท่านใดที่ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้ รวมถึงในกรณีที่มีเงินภาษีต้องชำระ และมิได้ชำระเงินภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ถือว่ามิได้ยื่นแบบ บุคคลนั้นจะต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1 อีกทั้ง ภ.ง.ด. ยังมีผลต่อการขอขึ้นประกันสังคมและการต่ออายุใบอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรไทยด้วย ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 มีความแตกต่างกันอย่างไร? […]

ไม่เหมือนกัน! ข้อแตกต่างระหว่างการขอใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติและแรงงานต่างด้าว

ไม่เหมือนกัน! ข้อแตกต่างระหว่างการขอใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติและแรงงานต่างด้าว

ตามพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 4 ระบุไว้ว่า คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ที่มิได้มีสัญชาติไทย รวมถึงกระทรวงแรงงานก็ได้ระบุว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย ดังนั้นคนต่างด้าวจึงหมายถึงชาวต่างชาติที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย และนิยมใช้เป็นคำเรียกทางการที่ใช้ในหน่วยงานราชการไทย ส่วนคนต่างชาติจะหมายถึง คนหลาย ๆ สัญชาติรวม ๆ กัน ซึ่งคนคนสัญชาติญี่ปุ่น จีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ หรือชาวสัญชาติจากทวีปตะวันตกก็สามารถเรียกคนต่างชาติได้เช่นเดียวกัน แต่ในทางการขอใบอนุญาตทำงาน และการขอวีซ่าทำงานภายในราชอาณาจักรไทย อาจมีซับซ้อนและใช้เรียกกันแตกต่างกันพอสมควร เนื่องจากหากระบุว่าชาวต่างชาติแล้ว หน่วยงานราชการและเอกชน และรวมถึงใคร ๆ หลายคนมักนึกถึงบุคคลที่มีสัญชาติตะวันออกและตะวันตกเป็นหลัก ในขณะที่หากระบุว่าเป็นชาวต่างด้าว แรงงานต่างด้าวจึงมักจะหมายถึงบุคคลที่มีสัญชาติเอเชียตะวันออก อย่างชาวลาว ชาวเวียดนาม ชาวกัมพูชา และชาวพม่าก่อนเสมอ การขอวีซ่าทำงาน และใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ และแรงงานต่างด้าวมีความแตกต่างกันหรือไม่? หากนิยามของชาวต่างชาติ หมายถึงชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ส่วนนิยามของแรงงานต่างด้าว หมายถึงบุคคลนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศกัมพูชาแล้ว คำตอบคือมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านของข้อกำหนดฯ การจัดเตรียมเอกสาร และขั้นตอนการดำเนินการขอวีซ่าทำงาน […]

แนวทางการต่ออายุวีซ่าทำงาน สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นครูอาจารย์

แนวทางการต่ออายุวีซ่าทำงาน สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นครู/อาจารย์ (Non-B Visa Teaching Purpose Extension)

ชาวต่างชาติที่ทำงานเป็นครูผู้สอนหรืออาจารย์ภายในราชอาณาจักรไทย และมีความประสงค์ที่จะยื่นขออนุญาตอาศัยอยู่ต่อในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติงานสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน สามารถยื่นขอต่ออายุวีซ่าทำงานสำหรับผู้ที่เป็นครู/อาจารย์ (Non-B Visa Teaching Purpose Extension) ได้ โดยชาวต่างชาติท่านนั้นจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และควรยื่นคำร้องขอต่ออายุวีซ่าทำงานล่วงหน้า ก่อนวีซ่าเดิมจะหมดอายุอย่างน้อย 30 วัน ซึ่งวีซ่าทำงานที่ขอต่ออายุใหม่จะขยายระยะเวลาการพักอาศัยเพื่ออยู่ทำงานให้ได้สูงสุด 1 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทยด้วย การต่ออายุวีซ่าทำงาน สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นครู/อาจารย์ สามารถดำเนินการด้วยใครได้บ้าง? ขั้นตอนการต่ออายุวีซ่าทำงาน สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นครู/อาจารย์ เอกสารที่ใช้ในการประกอบการยื่นคำร้องขอต่ออายุวีซ่าทำงาน สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นครู/อาจารย์ *หมายเหตุเพิ่มเติม บริษัท Lawyer V-Work ให้บริการรับทำวีซ่า (รับทำ VISA) ต่ออายุวีซ่าทำงาน และรับทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สำหรับชาวต่างชาติทุกประเทศ บริษัท Lawyer V-Work เราเป็นบริษัทรับทำวีซ่าทำงาน ต่ออายุวีซ่าทำงาน และรับทำ Visa Work Permit รับทำใบอนุญาตทำงานให้กับชาวต่างชาติแบบครบวงจร พร้อมบริการทางด้านกฎหมาย ดำเนินการด้วยทีมนักกฎหมายที่มีประสบการณ์มานานกว่า 12 ปี โดยทางบริษัทมีประสบการณ์ในการให้คำแนะนำสำหรับชาวต่างชาติ […]

บริษัทรับทำ Work Permit วีซ่าธุรกิจ รับขอใบอนุญาตทำงาน ต่อใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ Lawyer V-Work

  • รับทำ work permit ขอ work permit ให้ ชาวต่างชาติ รับทำใบอนุญาตทำงาน (กรณีอยู่ต่างประเทศ)
  • รับทำ work permit ขอ work permit ให้ ชาวต่างชาติ รับทำใบอนุญาตทำงาน (กรณีอยู่ในประเทศไทย)
  • รับ ต่อ work permit รับ ต่อ วีซ่า work permit
  • แจ้งเข้า-แจ้งออกจากงาน
  • ขอเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มลักษณะงาน
  • ขอเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มนายจ้าง
  • ขอเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มสถานที่ทำงาน
  • บริการรับทำ work permit ใบอนุญาตทำงานให้ชาวต่างชาติ กรณีอยู่ต่างประเทศและกรณีอยู่ในประเทศไทย
  • บริการรับทำ work permit ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน (Apply for work permit valid not exceed 3 months)
  • บริการรับทำ work permit ที่มีอายุเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน (Apply for work permit valid 3-6 months)
  • บริการรับทำ work permit ที่มีอายุเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกินหนึ่งปี (Apply for work permit valid 6-12 months)
  • บริการรับ ต่อ วีซ่า work permit (Apply for extension work permit)
  • บริการรับขออนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มลักษณะงาน (Apply for changing job or adding job)
  • บริการรับขออนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง (Apply for changing or adding employer)
  • บริการรับขออนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน (Apply for changing or adding location)

วีซ่า Non-B (Non-Immigrate Visa B) คืออะไร

วีซ่า Non – Immigrant Visa “B” หรือวีซ่า Non-B คือ วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B ที่ออกให้กับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อทำงาน ติดต่อธุรกิจ เข้าร่วมการประชุมในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งวีซ่า Non-B แบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single-Entry) มีอายุ 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน และวีซ่า Non-B แบบเข้าได้หลายครั้ง (Multiple-Entry) มีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ซึ่งจะออกให้เฉพาะกรณีติดต่อธุรกิจ

วีซ่า Non-ED (Non-Immigrate Visa ED) คืออะไร

วีซ่า Non-Immigrant “ED” หรือวีซ่า Non-ED คือ วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท ED ที่ออกให้กับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อศึกษาเต็มเวลาในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน ฝึกงานในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและองค์การระหว่างประเทศ ฝึกงานโดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา และศึกษาในหลักสูตรการศึกษาอื่น ๆ โดยวีซ่า Non-ED นี้จะเป็นวีซ่าแบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single-Entry) มีอายุ 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน

วีซ่า Non-O (Non-Immigrate Visa O) คืออะไร

วีซ่า Non-Immigrant “O” หรือวีซ่า Non-O คือ วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท O ที่ออกให้กับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ ครอบครัวของบุคคลสัญชาติไทย ผู้ติดตามของชาวต่างชาติที่ทำงานหรือศึกษาในประเทศไทย อาสาสมัครมูลนิธิหรือองค์กรการกุศล ใช้ชีวิตในบั้นปลาย (เกษียณ) โดยวีซ่า Non-O นี้จะเป็นวีซ่าแบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single-Entry) มีอายุ 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน

การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย กรณีอยู่เกิน 90 วัน

คนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวหรือถือวีซ่าประเภทชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ได้แก่

  • วีซ่าธุรกิจ (Non-B)
  • วีซ่าทำงาน (Non-B)
  • วีซ่าเกษียณอายุ (Non-O)
  • วีซ่าแต่งงาน (Non-O)
  • วีซ่าติดตาม (Non-O)
  • วีซ่าอาสาสมัคร (Non-O)

หากอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างชาติผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก 90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้นก็ได้ คนต่างชาติผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับจำนวน 2000 บาท

หรือหากถูกจับกุมตัวมาไม่ว่ากรณีใด ๆ ต้องเสียค่าปรับ จำนวน 5,000 บาท ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

Lawyer V-Work บริษัท รับต่อวีซ่า บริษัท บริการรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย กรณีอยู่เกิน 90 วัน สำหรับชาวต่างด้าวและชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าทุกประเภท อำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอน รวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมาย