วีซ่าเกษียณอายุ 1 ปี (รหัส O-A)
สำหรับคนต่างชาติที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เข้ามาเพื่อพักผ่อน โดยพำนักได้ 1 ปี โดยไม่ประสงค์ประกอบอาชีพ
- คุณสมบัติของผู้ที่สามารถขอรับการตรวจลงตรา
1.1 คนต่างด้าวทุกสัญชาติ อายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (นับถึงวันยื่นคำร้อง)
1.2 ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
1.3 ไม่มีประวัติที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทั้งต่อประเทศไทย และประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก
1.4 มีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนักถาวรในประเทศที่ตนยื่นคำร้อง
1.5 ไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ได้แก่ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้าง โรคยาเสพติดให้โทษ โรคซิฟิลิส ระยะที่ 3
1.6 ไม่อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย
- เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
2.1 หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่า 18 เดือน
2.2 แบบฟอร์มการขอรับการตรวจลงตรา (พร้อมรูปถ่ายขนาด 4X6 ซม. หน้าตรงไม่สวมหมวก ถ่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 ชุด
2.3 แบบฟอร์มประวัติส่วนตัว จำนวน 1 ชุด
2.4 สำเนาบัญชีเงินฝาก (Bank Statement) จำนวนเทียบเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือหนังสือรับรองรายได้หรือเงินบำนาญ (ฉบับจริง) เดือนละไม่น้อยกว่า 65,000 บาท หรือมีบัญชีเงินฝากและรายได้/เงินบำนาญ (ต่อเดือน X 12) รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000บาท (กรณีแสดงสำเนาบัญชีเงินฝากให้แสดงหนังสือรับรองจากธนาคารฉบับจริงด้วย)
* (หมายเหตุ: ผู้ร้องแสดงเพียงหลักฐานบัญชีเงินฝากหรือการมีรายได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นต้องโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในประเทศไทย)
2.5 ใบรับรองการสอบประวัติอาชญากรรม (Criminal Record) จากประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือจากประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก (ใบรับรองอายุไม่เกิน 3 เดือน)
2.6 ใบรับรองแพทย์จากประเทศที่ยื่นคำร้องที่แสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับที่14 พ.ศ. 2535 (ใบรับรองมีอายุไม่เกิน 3 เดือน)
2.7 ในกรณีมีความประสงค์จะนำคู่สมรสเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรด้วย แต่คู่สมรสไม่มีคุณสมบัติที่จะขอรับการตรวจลงตราประเภท “O-A” ได้ ให้แสดงหลักฐานทะเบียนสมรส โดย คู่สมรสจะได้รับการพิจารณาให้ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส “O” พำนักได้ 3 เดือน.
- ค่าธรรมเนียมวีซ่า
5,000 บาทสำหรับใช้เดินทางได้หลายครั้ง (multiple entry) อยู่ได้คราวละ 1 ปี
- คำแนะนำสำหรับชาวต่างชาติที่มีวีซ่า Non-Immigrant “O-A”
4.1 เมื่อเดินทางมาถึงผู้ถือวีซ่าประเภทนี้จะได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปีนับจากวันที่เข้าประเทศครั้งแรก และไม่อนุญาตให้ทำงาน
4.2 เมื่อเดินทางเข้ามาพำนักในราชอาณาจักร ต้องรายงานตนต่อเจ้าหน้าที่ ตม. ทุก ๆ 90 วัน
4.4 เมื่อพำนักในราชอาณาจักรใกล้จะครบ 1 ปี หากประสงค์จะพำนักอยู่ต่อไปอีก 1 ปี ให้ยื่นคำขออยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยแสดงเอกสารหรือหลักฐานการโอนเงิน หรือหลักฐานการมีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร จำนวนเงินไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือหนังสือรับรองรายได้/บำนาญ (โดยผ่านการรับรองจากสถานทูตของชาติตนแล้ว) เดือนละไม่น้อยกว่า 65,000 บาท อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันปีละไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หากคู่สมรสขออยู่ต่อ ให้เตรียมเอกสารหลักฐานการสมรสมาแสดงด้วย
การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวพำนักระยะยาว 10 ปี (รหัส O-X)
การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส “O-X” นี้ เป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นกรณีเดียวที่ผู้ร้องสามารถขอรับการตรวจลงตราได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ในการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว สาหรับคนต่างด้าวที่มีศักยภาพ จำนวน 14 ประเทศที่มีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เพื่อเดินทางเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรระยะยาวรวมจำนวน 10 ปี โดยมีอายุการตรวจลงตราครั้งละ 5 ปี และได้รับอนุญาตให้พำนักในราชอาณาจักร คราวละ 5 ปี ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราครั้งละ 10,000 บาท
- คุณสมบัติของผู้ร้อง
1.1 มีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
1.2 มีสัญชาติและถือหนังสือเดินทางของ (1) ญี่ปุ่น (2) ออสเตรเลีย (3) เดนมาร์ก (4) ฟินแลนด์ (5) ฝรั่งเศส (6) เยอรมนี (7) อิตาลี (8) เนเธอร์แลนด์ (9) นอร์เวย์ (10) สวีเดน (11) สวิตเซอร์แลนด์ (12) สหราชอาณาจักร (13) แคนาดา หรือ (14) สหรัฐอเมริกา
1.3 มีเงินฝากในธนาคารไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท หรือ มีเงินฝากในธนาคารไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1.8 ล้านบาทและมีรายได้ประจำปีไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านบาท โดยจะต้องคงเงินในบัญชีดังกล่าวหนึ่งปี จึงจะถอนเงินออกมาใช้ได้ โดยจะต้องมีเงินฝากเหลือในบัญชีไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านบาท
1.4 ไม่มีประวัติที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทั้งต่อประเทศไทยและประเทศที่ตนมีสัญชาติ หรือประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักถาวร
1.5 ไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ได้แก่ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้าง โรคยาเสพติดให้โรค และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
1.6 มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพของไทยคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในราชอาณาจักร โดยมีจำนวนเงินประกันภัยสำหรับค่ารักษาพยาบาล กรณีผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่าสี่หมื่นบาท และกรณีผู้ป่วยในไม่น้อยกว่าสี่แสนบาท
- เอกสารประกอบคำร้อง
2.1 หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน2.2 แบบฟอร์มการขอรับการตรวจลงตรา (พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. หน้าตรง ไม่สวมหมวก ถ่ายภาพในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 ชุด
2.3 แบบฟอร์มประวัติส่วนตัว จำนวน 1 ชุด
2.4 หลักฐานด้านการเงิน
- หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากของธนาคารพร้อมระบุข้อมูลสำหรับติดต่อธนาคาร สำเนาสมุดบัญชีคู่ฝาก และเอกสารใบแจ้งรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ซึ่งแสดงเงินฝากประจำ จำนวนเงินไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือ
- หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากของธนาคารพร้อมระบุข้อมูลสำหรับติดต่อธนาคาร สำเนาสมุดบัญชีคู่ฝาก และเอกสารใบแจ้งรายการเดินบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ซึ่งแสดงเงินฝากประจำ จำนวนเงินไม่น้อยกว่า 1.8 ล้านบาท ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และมีเอกสารแสดงเงินรายได้ประจำต่อปีไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านบาท
2.5 เอกสารหรือหลักฐานรับรองความประพฤติ หรือหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่คนต่างด้าวถือสัญชาติ และหากคนต่างด้าวมีถิ่นพำนักถาวรอยู่ในประเทศอื่น ต้องมีเอกสารดังกล่าวจากประเทศที่คนต่างด้าวมีถิ่นพำนักถาวรด้วย
2.6 ใบรับรองแพทย์จากประเทศที่ยื่นคำร้องที่แสดงว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2535 ได้แก่ โรคเรื้อน (Leprosy) วัณโรคในระยะอันตราย (Tuberculosis) โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) โรคยาเสพติดให้โทษ (drug addiction) และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 (third phase of Syphilis) ทั้งนี้ ใบรับรองต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือน
2.7 สำเนาหลักฐานการมีประกันภัย (ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด) และกรมธรรม์ประกันสุขภาพของไทย โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับค่าพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และในกรณีผู้ป่วยใน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท
2.8 ค่าธรรมเนียม 10,000 บาท
* คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส “O-X” เพื่อติดตามเข้ามาพำนักระยะยาวได้
2.9 คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (ไม่จำกัดอายุ) ให้ผู้ร้องแสดงหลักฐานทะเบียนสมรสประกอบคำร้อง ของทั้งผู้ร้องและคู่สมรส และต้องเตรียมเอกสารตามข้อ 1 -8
2.10 บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย อายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้ร้องแสดงสำเนาสูติบัตรหรือเอกสารรับรองความเป็นบุตร และต้องเตรียมเอกสารตามข้อ 1 -3, 7 และ 8