เที่ยวแล้วติดใจ อยากอยู่ทำงานต่อ เปลี่ยนวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ

เที่ยวแล้วติดใจ อยากอยู่ทำงานต่อ เปลี่ยนวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติเป็นวีซ่าทำงานต้องทำอย่างไร?

เชื่อว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากมายที่มาเที่ยวในประเทศไทย และต้องหลงมนต์เสน่ห์ความน่าอยู่อาศัยของประเทศเรากันไม่มากก็น้อย ติดใจจนอยากที่จะอยู่ทำงานต่อภายในประเทศไทยต่อไป ซึ่งชาวต่างชาติท่านใดที่มีความต้องการเช่นนี้ สามารถทำได้ เพียงแต่ท่านต้องขอเปลี่ยนประเภทวีซ่า หรือเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราให้เป็นวีซ่าทำงาน (Non-B Visa) และยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ในประเทศไทยเสียก่อน เงื่อนไขการพิจารณาขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ขอเปลี่ยนประเภทวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ) เอกสารสำหรับการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ขอเปลี่ยนประเภทวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ) เอกสารของลูกจ้างต่างชาติ เอกสารของบริษัทฯ และนายจ้าง ข้อมูลควรรู้เพิ่มเติม บริษัท Lawyer V-Work ให้บริการรับทำวีซ่า (รับทำ VISA) และรับทำใบอนุญาตทำงาน (รับทำ Work Permit) สำหรับชาวต่างชาติทุกประเทศ บริษัท Lawyer V-Work เราเป็นบริษัทรับทำ VISA ทำงาน และรับทำ Visa Work Permit รับทำใบอนุญาตทำงาน รับทำวีซ่าให้กับชาวต่างชาติแบบครบวงจร พร้อมบริการทางด้านกฎหมาย ซึ่งดำเนินการด้วยทีมนักกฎหมายมืออาชีพที่มีประสบการณ์มานานกว่า 12 ปี โดยทางบริษัทนั้นได้มีการให้คำแนะนำสำหรับชาวต่างชาติ ที่มีความประสงค์เข้ามาทำงานในประเทศไทยมาแล้วหลากหลายประเทศ พร้อมอำนวยความสะดวกให้ในทุกขั้นตอนอย่างเต็มที่ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง LINE: @v-work

วีซ่าเกษียณอายุ หรือ Visa Non-Immigrant “O” (Retirement) คืออะไร มีหลักเกณฑ์อย่างไร

วีซ่าเกษียณอายุ หรือ Visa Non-Immigrant “O” (Retirement) คืออะไร มีหลักเกณฑ์อย่างไร?

ปัจจุบัน ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาตินิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและพักอาศัย เพื่อใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิตกันมากขึ้น และมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ด้วยเสน่ห์และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย วัฒนธรรมเก่าแก่ที่ดีงาม มีสภาพอากาศที่ดี อาหารอร่อย สถานที่ท่องเที่ยวสวยงามติดอันดับท็อปลิสต์ของโลก ประกอบกับอัตราค่าครองชีพที่ไม่สูง ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลายคนที่มีโอกาสได้มาแวะเยือนนั้นติดใจและเลือกจุดหมายปลายทางในการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุที่ประเทศไทย วีซ่าเกษียณอายุ หรือ Visa Non-Immigrant “O” (Retirement) คืออะไร? วีซ่าเกษียณอายุ หรือวีซ่าเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย คือวีซ่าที่ออกมาเพื่อชาวต่างชาติที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และมีความประสงค์ที่จะเข้ามาพำนักอาศัยในราชอาณาจักรไทย จำเป็นต้องมีการแสดงหลักฐานทางการเงินประกอบการพิจารณา ซึ่งสามารถยื่นคำร้องได้ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยมีหลักเกณฑ์ในการขอวีซ่าเกษียณอายุ (Visa Non-Immigrant “O”) (Non-OA) และ (Non-OX) ดังนี้ เอกสารที่ใช้สำหรับประกอบการยื่นคำร้องขอวีซ่าเกษียณอายุ หรือ หรือ Visa Non-Immigrant “O” (Retirement) วีซ่าเกษียณอายุหรือ Visa Non-Immigrant “O” (Retirement) มีกี่ประเภท? วีซ่าแบบชีวิตบั้นปลาย หรือวีซ่าเกษียณสำหรับชาวต่างชาติที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และต้องพำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย […]

ไม่ต้องกังวล หากใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สูญหาย หรือชำรุด ให้ปฏิบัติตามนี้

ไม่ต้องกังวล หากใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สูญหาย หรือชำรุด ให้ปฏิบัติตามนี้

ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ไม่ใช่เอกสารที่มีไว้ประกอบสวย ๆ เท่านั้น แต่มีความสำคัญมากสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำงานภายในราชอาณาจักรไทย เพราะใบอนุญาตทำงานเปรียบเสมือนใบแสดงตนว่าชาวต่างชาติผู้นั้นได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกต้องตามกฎหมาย มีหน่วยงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐตรวจสอบและรับรองแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชาวต่างชาติจะเคยถือใบอนุญาตทำงานแล้ว แต่หากตรวจพบว่าทำใบอนุญาตทำงานสูญหายหรือชำรุด จำต้องรีบดำเนินการตามขั้นตอนตามที่กรมการจัดหางานกำหนดไว้ทันที ภายใน 15 วัน หลังจากที่ทราบ มิเช่นนั้นจะมีโทษทางกฎหมาย ขั้นตอนการดำเนินการก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ไม่ต้องกังวลไป ทางบริษัท Lawyer V-Work เราได้เตรียมรายละเอียดแน่น ๆ ไว้ให้คุณแล้ว เอกสารสำหรับยื่นขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานตามกรณีที่ต้องจัดเตรียมให้พร้อม หมายเหตุ: หากสังเกตจะเห็นว่าทั้งในกรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย และใบอนุญาตทำงานเสียหายชำรุด ทั้งสองต่างใช้เอกสารที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันทั้งหมด นายจ้างหรือชาวต่างชาติเจ้าของใบอนุญาตทำงานควรจัดเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อที่การดำเนินขอใบแทนใบอนุญาตทำงานจะได้ราบรื่นรวดเร็วที่สุด ซึ่งการทำเรื่องขอใบแทนใบอนุญาตทำงาน นายจ้างสามารถดำเนินการแทนลูกจ้างชาวต่างชาติได้ หรือลูกจ้างชาวต่างชาติจะดำเนินการด้วยตนเองก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณ ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อทำใบอนุญาตทำงานสูญหายหรือชำรุด ถ้าคนต่างชาติไม่ได้ทำใบอนุญาตทำงานสูญหายหรือชำรุด แต่มีการเปลี่ยนชื่อนามสกุลต้องทำอย่างไร? ตามที่กฎหมายระบุไว้ ในกรณีที่ชาวต่างชาติที่ถือใบอนุญาตทำงานมีการเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุล สัญชาติ เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย หรือชื่อสถานที่ทำงาน ชาวต่างชาติจำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลรายการในใบอนุญาตใหม่โดยไม่ชักช้าที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง พร้อมจัดเตรียมเอกสารให้พร้อม ประกอบไปด้วย กรอกใบคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตให้ครบถ้วน ใบอนุญาตทำงานฉบับเดิม พร้อมสำเนา สำเนาหนังสือเดินทาง หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างชาติ พร้อมติดอากรแสตมป์ […]

SMART Visa คืออะไร ทำไมถึงมีประโยชน์ต่อธุรกิจในยุคใหม่

SMART Visa คืออะไร ทำไมถึงมีประโยชน์ต่อธุรกิจในยุคใหม่

ปัจจุบัน ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก หลั่งไหลเข้ามาทำงานในบริษัทต่างชาติหรือประกอบธุรกิจกิจการภายในราชอาณาจักรไทยกันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่มักประสบกับปัญหาในทำเรื่องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และขอวีซ่าทำงานในราชอาณาจักรไทย ที่มีขั้นตอนรายละเอียดซับซ้อนมากมาย ส่งผลให้บริษัทต่างชาติและพนักงานต่างชาติต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำเรื่องต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากพนักงานต่างชาติและนักลงทุนต่างชาติตัดสินใจขอใช้ SMART Visa แทนการร้องขอวีซ่าทำงานแบบทั่วไป SMART Visa คืออะไร? SMART Visa คือวีซ่าทำงานประเภทหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงดูดให้ชาวต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุน เสริมทักษะ หรือเข้ามาทำงานภายในราชอาณาจักรไทย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ด้วยนวัตกรรม และยกระดับความน่าดึงดูดของประเทศไทยในสายตาชาวต่างชาติทั่วโลกด้วย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักลงทุน ผู้ประกอบการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทักษะระดับสูง รวมถึงกลุ่มผู้ติดตามหรือครอบครัวของชาวต่างชาติเหล่านั้น สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ประเทศไทยต้องการดึงดูดเข้ามาเป็นพิเศษจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve อันประกอบไปด้วย SMART Visa มีกี่ประเภท และต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? SMART Visa สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ นักวิจัย นักพัฒนาโปรแกรม วิศวกรฮาร์ดแวร์ วิศวกรสาขาต่าง ๆ และนักพัฒนาแอปพลิเคชัน เป็นต้น คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการร้องขอ SMART Visa “T” […]

หากชาวต่างชาติลาออกจากงานในไทย ส่งผลอย่างไรต่อวีซ่าทำงานและใบอนุญาตทำงาน

หากชาวต่างชาติลาออกจากงานในไทย ส่งผลอย่างไรต่อวีซ่าทำงานและใบอนุญาตทำงาน

สิ่งสำคัญในการจ้างลูกจ้างชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในบริษัทหรือในสถานประกอบการในไทย นายจ้างไม่เพียงแต่ต้องใส่ใจถึงกระบวนการช่วงดำเนินการนำชาวต่างชาติเข้ามา กระบวนการขอวีซ่าทำงาน การขอใบอนุญาตทำงานเท่านั้น แต่ต้องทราบถึงในกรณีที่ลูกจ้างชาวต่างชาติลาออกจากงานในอนาคตด้วย เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครที่จะทำงานในสถานประกอบการเดิม ๆ ไปเป็นเวลานาน โดยเฉพาะลูกจ้างชาวต่างชาติด้วยแล้วแทบจะมีระยะเวลาทำงานปีต่อปีเสียด้วยซ้ำ หากไม่ทราบรายละเอียดในจุดนี้อาจเกิดความยุ่งยากวุ่นวาย และนายจ้างอาจต้องรับโทษทางกฎหมายได้เช่นกัน โดยเมื่อลูกจ้างชาวต่างชาติที่ถือใบอนุญาตทำงานและวีซ่าทำงานในราชอาณาจักรไทยอยู่ หมดสัญญาหรือลาออกจากงาน ขั้นตอนสำคัญที่นายจ้างหรือลูกจ้างชาวต่างชาติต้องดำเนินการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ การแจ้งยกเลิกใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และการแจ้งพ้นหน้าที่ทำงาน (หรือการแจ้งยกเลิกวีซ่าทำงานนั่นเอง) การแจ้งยกเลิกใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ของชาวต่างชาติ การแจ้งการจ้างคนต่างชาติและคนต่างด้าวออกจากงาน (แจ้งยกเลิกใบอนุญาตทำงาน) สามารถดำเนินการได้ที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางานในเขตพื้นที่ทำงาน และรวมถึงช่องทางใหม่ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของกรมการจัดหางาน โดยสามารถดำเนินการได้ออกเป็น 2 กรณี นายจ้างต้องแจ้งดำเนินการยกเลิกอนุญาตทำงานให้ลูกจ้างชาวต่างชาติภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างไม่มาทำงาน หากดำเนินการแจ้งล่าช้ามีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท ส่วนเอกสารที่ใช้ในการดำเนินการทุกฉบับต้องลงนามผูกพัน ลายมือชื่อ และตราประทับบริษัท (ถ้ามี) ประกอบไปด้วย เอกสารการแจ้งขอยกเลิกอนุญาตทำงานในกรณีที่ลูกจ้างชาวต่างชาติดำเนินการเองจะมีความใกล้เคียงกับนายจ้างดำเนินการให้ แต่ก็ไม่เหมือนกันทั้งหมด โดยเอกสารต้องลงลายมือชื่อลูกจ้างชาวต่างชาติ หรือผู้รับมอบอำนาจให้ครบทุกฉบับ ดังนี้ อัปเดตช่องทางการแจ้งยกเลิกอนุญาตทำงานใหม่ ปัจจุบัน ทางกรมการจัดหางานได้มีการเปิดช่องทางการแจ้งยกเลิกอนุญาตทำงานใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์สำหรับแจ้งการจ้างคนต่างชาติและคนต่างด้าวออกจากงาน […]

การตรวจสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

การตรวจสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ต้องตรวจอะไรบ้าง และมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร

ชาวต่างชาติที่มีความประสงค์เข้ามาทำงาน ประกอบธุรกิจ หรือเป็นลูกจ้างในสาขาอาชีพต่าง ๆ ภายในราชอาณาจักรไทย มีความจำเป็นต้องดำเนินการตรวจสุขภาพทุกคน เนื่องจากการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และวีซ่าทำงาน (Non-B Visa) นั้นจำเป็นต้องใช้เอกสารใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติรับรองสุขภาพ โดยมีข้อกำหนดว่าต้องออกโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากทางแพทยสภาเท่านั้น จะเป็นแพทย์ที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลรัฐบาลไหนก็ได้ ขอแค่ต้องมีใบอนุญาตตรงตามข้อกำหนดก็เป็นอันใช้ได้ ใบรับรองแพทย์ที่ใช้สำหรับประกอบการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) คืออะไร? ใบรับรองแพทย์ คือเอกสารสำคัญที่รับรองว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีการเข้ารับการตรวจสุขภาพจริงตามรายการที่กำหนด เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ใบรับรองแพทย์สำหรับยื่นสมัครงาน ใบรับรองแพทย์สำหรับทำใบขับขี่ ใบรับรองแพทย์เพื่อเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ และใบรับรองแพทย์สำหรับยื่นประกอบการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เป็นต้น ดังนั้นใบรับรองแพทย์สำหรับขอใบอนุญาตทำงาน จึงหมายถึงเอกสารรับรองว่าชาวต่างชาติที่เข้ารับการตรวจมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วยเป็นโรคร้าย 6 โรค ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ และไม่เป็นผู้ป่วยโรคจิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน *หมายเหตุ ใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพชาวต่างชาติ เพื่อขอใบอนุญาตทำงานจะมีอายุ 60 วัน นับตั้งแต่วันเข้ารับการตรวจ หมายความว่า ชาวต่างชาติควรต้องรีบดำเนินการยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงาน และวีซ่าทำงาน (Non-B Visa) เพราะมีระยะเวลากำหนด อีกทั้งใบรับรองแพทย์นี้ไม่เพียงแต่สามารถใช้ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน และวีซ่าทำงานได้เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ยื่นประกอบการขอขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว […]

บริษัทรับทำ Work Permit วีซ่าธุรกิจ รับขอใบอนุญาตทำงาน ต่อใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ Lawyer V-Work

  • รับทำ work permit ขอ work permit ให้ ชาวต่างชาติ รับทำใบอนุญาตทำงาน (กรณีอยู่ต่างประเทศ)
  • รับทำ work permit ขอ work permit ให้ ชาวต่างชาติ รับทำใบอนุญาตทำงาน (กรณีอยู่ในประเทศไทย)
  • รับ ต่อ work permit รับ ต่อ วีซ่า work permit
  • แจ้งเข้า-แจ้งออกจากงาน
  • ขอเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มลักษณะงาน
  • ขอเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มนายจ้าง
  • ขอเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มสถานที่ทำงาน
  • บริการรับทำ work permit ใบอนุญาตทำงานให้ชาวต่างชาติ กรณีอยู่ต่างประเทศและกรณีอยู่ในประเทศไทย
  • บริการรับทำ work permit ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน (Apply for work permit valid not exceed 3 months)
  • บริการรับทำ work permit ที่มีอายุเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน (Apply for work permit valid 3-6 months)
  • บริการรับทำ work permit ที่มีอายุเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกินหนึ่งปี (Apply for work permit valid 6-12 months)
  • บริการรับ ต่อ วีซ่า work permit (Apply for extension work permit)
  • บริการรับขออนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มลักษณะงาน (Apply for changing job or adding job)
  • บริการรับขออนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง (Apply for changing or adding employer)
  • บริการรับขออนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน (Apply for changing or adding location)

วีซ่า Non-B (Non-Immigrate Visa B) คืออะไร

วีซ่า Non – Immigrant Visa “B” หรือวีซ่า Non-B คือ วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B ที่ออกให้กับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อทำงาน ติดต่อธุรกิจ เข้าร่วมการประชุมในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งวีซ่า Non-B แบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single-Entry) มีอายุ 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน และวีซ่า Non-B แบบเข้าได้หลายครั้ง (Multiple-Entry) มีอายุ 1 ปี นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ซึ่งจะออกให้เฉพาะกรณีติดต่อธุรกิจ

วีซ่า Non-ED (Non-Immigrate Visa ED) คืออะไร

วีซ่า Non-Immigrant “ED” หรือวีซ่า Non-ED คือ วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท ED ที่ออกให้กับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อศึกษาเต็มเวลาในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน ฝึกงานในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและองค์การระหว่างประเทศ ฝึกงานโดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา และศึกษาในหลักสูตรการศึกษาอื่น ๆ โดยวีซ่า Non-ED นี้จะเป็นวีซ่าแบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single-Entry) มีอายุ 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน

วีซ่า Non-O (Non-Immigrate Visa O) คืออะไร

วีซ่า Non-Immigrant “O” หรือวีซ่า Non-O คือ วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท O ที่ออกให้กับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ ครอบครัวของบุคคลสัญชาติไทย ผู้ติดตามของชาวต่างชาติที่ทำงานหรือศึกษาในประเทศไทย อาสาสมัครมูลนิธิหรือองค์กรการกุศล ใช้ชีวิตในบั้นปลาย (เกษียณ) โดยวีซ่า Non-O นี้จะเป็นวีซ่าแบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single-Entry) มีอายุ 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นขอวีซ่า และใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน

การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย กรณีอยู่เกิน 90 วัน

คนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวหรือถือวีซ่าประเภทชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ได้แก่

  • วีซ่าธุรกิจ (Non-B)
  • วีซ่าทำงาน (Non-B)
  • วีซ่าเกษียณอายุ (Non-O)
  • วีซ่าแต่งงาน (Non-O)
  • วีซ่าติดตาม (Non-O)
  • วีซ่าอาสาสมัคร (Non-O)

หากอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างชาติผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก 90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้นก็ได้ คนต่างชาติผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับจำนวน 2000 บาท

หรือหากถูกจับกุมตัวมาไม่ว่ากรณีใด ๆ ต้องเสียค่าปรับ จำนวน 5,000 บาท ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

Lawyer V-Work บริษัท รับต่อวีซ่า บริษัท บริการรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย กรณีอยู่เกิน 90 วัน สำหรับชาวต่างด้าวและชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าทุกประเภท อำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอน รวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมาย