ตามพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 4 ระบุไว้ว่า คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ที่มิได้มีสัญชาติไทย รวมถึงกระทรวงแรงงานก็ได้ระบุว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย ดังนั้นคนต่างด้าวจึงหมายถึงชาวต่างชาติที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย และนิยมใช้เป็นคำเรียกทางการที่ใช้ในหน่วยงานราชการไทย ส่วนคนต่างชาติจะหมายถึง คนหลาย ๆ สัญชาติรวม ๆ กัน ซึ่งคนคนสัญชาติญี่ปุ่น จีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ หรือชาวสัญชาติจากทวีปตะวันตกก็สามารถเรียกคนต่างชาติได้เช่นเดียวกัน

แต่ในทางการขอใบอนุญาตทำงาน และการขอวีซ่าทำงานภายในราชอาณาจักรไทย อาจมีซับซ้อนและใช้เรียกกันแตกต่างกันพอสมควร เนื่องจากหากระบุว่าชาวต่างชาติแล้ว หน่วยงานราชการและเอกชน และรวมถึงใคร ๆ หลายคนมักนึกถึงบุคคลที่มีสัญชาติตะวันออกและตะวันตกเป็นหลัก ในขณะที่หากระบุว่าเป็นชาวต่างด้าว แรงงานต่างด้าวจึงมักจะหมายถึงบุคคลที่มีสัญชาติเอเชียตะวันออก อย่างชาวลาว ชาวเวียดนาม ชาวกัมพูชา และชาวพม่าก่อนเสมอ

การขอวีซ่าทำงาน และใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ และแรงงานต่างด้าวมีความแตกต่างกันหรือไม่?

หากนิยามของชาวต่างชาติ หมายถึงชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ส่วนนิยามของแรงงานต่างด้าว หมายถึงบุคคลนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศกัมพูชาแล้ว คำตอบคือมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านของข้อกำหนดฯ การจัดเตรียมเอกสาร และขั้นตอนการดำเนินการขอวีซ่าทำงาน และใบอนุญาตทำงานภายในราชอาณาจักรไทย เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานภายในราชอาณาจักรไทยถูกต้องตามกฎหมาย นายจ้างหรือบริษัทจะต้องทำตามข้อตกลงการนำเข้าแรงงานระหว่างประเทศไทยและประเทศเข้าร่วม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “MOU” หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นการจ้างงานผิดกฎหมาย และทั้งนายจ้างและแรงงานต่างด้าวจะต้องได้รับบทลงโทษด้วย โดยในส่วนของแรงงานต่างด้าว MOU ประกอบไปด้วย แรงงานต่างด้าวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สำหรับในส่วนของชาวต่างชาติจากประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจาก MOU หากอยู่ในเกณฑ์ข้อกำหนดตามกฎหมาย จะสามารถดำเนินการขอวีซ่าทำงาน (Non-B Visa) และใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ได้

การขออนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าว MOU

เอกสารสำหรับแรงงานต่างด้าวที่ต้องจัดเตรียม

  • หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล)
  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • แผนที่สถานที่ทำงาน
  • รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พัก
  • กรณีกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  • รายละเอียดความต้องการสวัสดิการต่าง ๆ

ขั้นตอนการทำ MOU

  1. ต้องยื่นเอกสารคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศ โดยส่งเอกสารคำร้องที่ได้ไปยังตัวแทนประเทศต้นทาง เพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา
  2. ยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับมาจากบริษัทรับนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ต่างประเทศ
  3. แจ้งที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าว ภายใน 24 ชั่วโมง
  4. แจ้งการเข้าทำงานของแรงงานต่างด้าว ภายใน 15 วัน
  5. ยื่นใบรับรองแพทย์ตรวจสุขภาพ ภายใน 30 วัน ณ สำนักงานจัดหางาน

การขออนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ

คุณสมบัติของชาวต่างชาติที่สามารถขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ได้

  • ชาวต่างชาติต้องมี Non-Immigrant Visa “B” (Non-B Visa)
  • ชาวต่างชาติต้องมีความสามารถในการทำงานตามที่ได้ขออนุญาต
  • ชาวต่างชาติต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะสุดท้าย โรคเท้าช้างในระยะอาการอันเป็นที่รังเกียจต่อสังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
  • ชาวต่างชาติต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต

เอกสารสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

  • แบบคำขอ ต.ม. 1 และรูปถ่ายชาวต่างชาติ ขนาด 3 × 4 เซนติเมตร (1 นิ้วครึ่ง) จำนวน 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์ หรือรูปโพลารอยด์ )
  • หนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงความจำเป็นในการจ้างแรงงานต่างด้าว กรณีบริษัทผ่าน B.O.I หรือ กนอ. ให้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ยื่นใช้สิทธิ์ B.O.I หรือ กนอ. พร้อมสำเนาบัตรส่งเสริม
  • หนังสือรับรองการจ้างงาน หรือสัญญาจ้าง
  • สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงานของชาวต่างชาติ
  • ใบรับรองแพทย์
  • สำเนาหนังสือเดินทาง (สำเนาพาสปอร์ต) หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และใบสำคัญประจำตัวคนต่างชาติพร้อมฉบับจริง
  • สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบวิชาชีพที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
  • หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง (กรณีนายจ้างเป็นคนต่างชาติ ใช้สำเนาใบอนุญาตทำงาน)ติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

ขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ

  1. ยื่นขอวีซ่าธุรกิจ (Visa Non-B) อายุ 90 วัน จากสถานกงสุลไทย ณ ประเทศนั้น ๆ หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย
  2. เมื่อได้รับการอนุมัติ Visa Non-B ต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ณ กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน
  3. หลังจากได้รับอนุมัติใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้ต่ออายุหนังสือ Visa Non-B ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ภายใน 30 วัน

หากพิจารณาจากรายละเอียดที่เราอธิบายไว้ข้างต้น ทุกท่านจะทราบว่าการจัดเตรียมและขั้นตอนการดำเนินขอใบอนุญาตทำงาน ขออนุญาตทำงานในประเทศไทยระหว่างชาวต่างชาติ และแรงงานต่างด้าว MOU นั้นจะมีความแตกต่างกันพอสมควร โดยทั้งสองต่างต้องใช้ความละเอียดในการจัดเตรียมเอกสาร และการดำเนินการ เพื่อให้ไปเป็นไปตามข้อกำหนดฯ หากท่านไม่แน่ใจว่าเอกสารที่จัดเตรียมนั้นครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ สามารถปรึกษา บริษัท Lawyer V-Work สำหรับการดำเนินการขอใบอนุญาตทำงาน ขอวีซ่าทำงานประเภทต่าง ๆ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่าง ๆ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง LINE: @v-work